fbpx
การจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี

การจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี ของคอนโด คืออะไร? สำคัญอย่างไร?
(Annual General Meeting : AGM)

วันนี้ The LivingOS จะพามารู้จักกับการประชุมใหญ่คอนโดหรือการประชุมใหญ่เจ้าของร่วม ที่เจ้าหน้าที่โครงการคอนโด และลูกบ้าน หรือผู้พักอาศัย จำเป็นต้องรู้และทำความคุ้นเคยเอาไว้ เพราะการจัดประชุมใหญ่ คอนโดนี้ มักจะถูกจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี

การประชุมใหญ่คอนโดหรือการประชุมใหญ่เจ้าของร่วม คือ การจัดประชุมประจำโครงการคอนโด ที่นิติบคุคคลคอนโดจัดขึ้น เพื่อให้เจ้าของร่วม หรือผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในโครงการนั้น มาเข้าร่วมการประชุม เพื่อรับทราบรายละเอียดต่างๆ ที่นิติบุคคลคอนโดต้องการชี้แจง เช่นกฎระเบียบข้อบังคับ งบประมาณและค่าใช้จ่ายต่างๆ หรือแม้กระทั่งการปรับปรุงโครงการคอนโด ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

การประชุมใหญ่คอนโด มีกี่ประเภท และแต่ละประเภท แตกต่างกันอย่างไร?

การจัดประชุมใหญ่คอนโดหรืออาคารชุด มีทั้งหมด 3 ประเภท ดังนี้

การประชุมใหญ่คอนโด มีกี่ประเภท และแต่ละประเภท แตกต่างกันอย่างไร?

1.การประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1

เป็นการจัดประชุมเพื่อสร้างข้อตกลง กฎกติกา และมารยาทในการอยู่ร่วมกัน ที่เจ้าของร่วม หรือผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ทุกคนจำเป็นต้องทำตาม ซึ่งจะต้องถูกจัดขึ้น ในระยะเวลา 6 เดือน หรือ 180 วัน นับตั้งแต่วันที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ยูนิตแรกของโครงการนั้นๆ โดยวาระสำคัญ ดังนี้

  • การรับรองระเบียบพักอาศัยของนิติบุคคลอาคารชุด เช่น เวลาเปิด-ปิดพื้นที่ส่วนกลาง
  • การรับรองข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุด เช่น อัตราค่าใช้จ่ายหรือรอบการเรียกเก็บค่าส่วนกลาง
  • การแต่งตั้งผู้จัดการนิติบุคคลคอนโด
  • การแต่งตั้งคณะกรรมการนิติบุคคลคอนโด
  • รายงานผลการดำเนินการ ในรอบปีที่ผ่านมา เช่น การบริหารจัดการ งานช่าง หรืองานทำความสะอาด
  • เรื่องอื่นๆ ที่ต้องได้รับการพิจารณา

2.การประชุมใหญ่สามัญประจำปี

เป็นการจัดประชุมใหญ่ที่เกิดขึ้นประจำทุกปี จะถูกจัดขึ้นหลังจากการจัดการประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1  ซึ่งการจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี ถูกจัดขึ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติงบดุล การแต่งตั้งผู้สอบบัญชี และเรื่องอื่นๆ โดยจะถูกจัดขึ้นภายในระยะเวลา 120 วัน หลังสิ้นสุดรอบบัญชี ซึ่งนิติบุคคลจำเป็นต้องทำหนังสือนัดหมายให้กับเจ้าของร่วมทุกคน และต้องได้รับการตอบรับการเข้าร่วมการประชุม มากกว่า 1 ใน 4 ของคะแนนเสียงทั้งหมด จึงจะสามารถจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีได้

3.การจัดประชุมใหญ่วิสามัญประจำปี

การจัดประชุมใหญ่วิสามัญประจำปี เป็นการจัดประชุมที่ถูกจัดขึ้น สำหรับพิจารณาเรื่องเร่งด่วน ซึ่งจะสามารถจัดการประชุมได้ก็ต่อเมื่อ ผู้จัดการ, คณะกรรมการ (มติเสียงเกินกึ่งหนึ่ง), เจ้าของร่วม (มากกว่า 20%) ร่วมกันลงชื่อและทำหนังสือขอเปิดการประชุมต่อคณะกรรมการ เท่านั้น จึงจะสามารถจัดการประชุมใหญ่วิสามัญประจำปีได้

ไม่เข้าร่วมการประชุมคอนโด

ไม่เข้าร่วมการประชุมคอนโด ได้ไหม? จะมีผลอย่างไรบ้าง?

หลังจากได้ทำความรู้จักกับ การประชุมคอนโด ไม่ว่าจะเป็น การประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1 , การประชุมใหญ่สามัญประจำปี และการประชุมใหญ่วิสามัญประจำปีแล้ว หลายคนคงมีคำถามต่อมาว่า ‘ไม่เข้าร่วมการประชุมคอนโดได้ไหม? จะส่งผลเสียอะไรบ้าง?’ การไม่เข้าร่วมการจัดประชุมใหญ่คอนโด ไม่ว่าจะเป็นประเภทไหนก็ส่งผลเสียให้ทั้งกับตัวเจ้าของร่วมหรือผู้มีกรรมสิทธิ์ และนิติบุคคลคอนโด ทั้งนั้น

เพราะถึงแม้การไม่เข้าร่วมการประชุมคอนโด จะไม่ผิดต่อกฎหรือข้อบังคับ แต่จะส่งผลเสียอื่นๆตามมา ดังนี้

ผลเสียต่อของการไม่เข้าร่วมการประชุมใหญ่สามัญประจำปี

  • เสียสิทธิในการออกเสียง – ในกรณีที่มีการให้เจ้าของร่วมออกเสียงในการอนุมัติและแก้ไขกฎข้อบังคับต่างๆ เช่น กฎหรือข้อห้ามในการใช้พื้นที่ส่วนกลาง  แล้วเจ้าของร่วมไม่เข้าร่วมการประชุมคอนโด ก็จะทำให้ไม่สามารถลงความเห็นเพื่อแก้ไขสิ่งเหล่านี้ได้
  • เสียเวลาและค่าใช้จ่าย – หากเจ้าของร่วมไม่เข้าร่วมประชุมใหญ่ เป็นจำนวนมาก จะทำให้เกิดการเลื่อนประชุม ซึ่งผลที่ตามมาคือคณะกรรมการจัดประชุมจะต้องเสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมไปอย่างเปล่าประโยชน์ ผู้เข้าร่วมการประชุมคนอื่นๆก็เช่นกัน ยังไม่รวมถึงประเด็นต่างๆที่ต้องได้รับการพิจารณา ก็จำเป็นที่จะต้องถูกเลื่อนออกไป

ทำไมคอนโดหลายโครงการถึงเลือกใช้ระบบ i-Vote เป็นตัวช่วยสำหรับการจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี (Annual General Meeting : AGM)

การป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในการจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี

การจัดประชุมใหญ่ ประจำโครงการคอนโดนั้น มีความสำคัญและจำเป็นมาก สำหรับทั้งนิติบุคคลคอนโด และ เจ้าของร่วมในโครงการ ซึ่งมีขั้นตอนและเงื่อนไขสำคัญค่อนข้างมากที่ต้องปฏิบัติตาม วิธีแก้ปัญหาหรือการหาทางออกที่ง่ายที่สุดสำหรับโครงการคอนโดในหลายๆโครงการ คือการนำระบบ i-Vote หรือระบบการจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี เข้าไปช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี

โดยระบบ i-Vote นั้น มีฟีเจอร์ที่สามารถช่วยนิติบุคคลคอนโด หรือคณะกรรมการ จัดประชุมใหญ่ได้ง่ายขึ้น และสะดวกสบายกับลูกบ้านเจ้าของร่วม ดังนี้

  • สะดวกและประหยัดเวลาในการจัดประชุม: เพราะระบบ i-Vote สามารถสร้างและเชิญการประชุมถึงลูกบ้านได้ง่ายๆ ผ่าน E-Mail อีกทั้งยังมีการแจ้งเตือนอัตโนมัติ เมื่อใกล้ถึงวันประชุม เพื่อป้องกันการประชุมถูกล่ม และยังสามารถยื่นการจัดประชุมไปที่กรมที่ดินได้ในทันที โดยที่นิติบุคคลคอนโด ไม่ต้องเสียเวลาในการยื่นเรื่องเอง
  • รองรับทั้งการจัดประชุมออนไลน์และออฟไลน์: ช่วยเพิ่มอัตราการเข้าร่วมประชุมของเจ้าของร่วมหรือ ผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมได้ เพราะสามารถรองรับผู้เข้าร่วมประชุม ทั้งระบบออนไลน์และผู้ที่เดินทางมาประชุมในสถานที่ ควบคู่กันไปในเวลาเดียวกันได้ สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกเดินทางมาเข้าร่วมประชุมภายในสถานที่จัดประชุม ในช่วงวันและเวลานั้นๆ ก็สามารถเข้าร่วมการประชุมออนไลน์ได้ทุกที่ ทุกเวลา  ไม่ต้องเสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการมาเข้าร่วมประชุม ก็สามารถรับทราบรายละเอียดการประชุมและลงคะแนนเสียงได้ ไม่ต่างกับการเข้าประชุมในสถานที่จัดประชุม
  • รองรับผู้เข้าร่วมประชุมได้เป็นจำนวนมาก: ไม่ต้องกังวลเรื่องสถานที่จัดประชุมว่าพื้นที่เล็กหรือใหญ่พอจะรองรับผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนมากได้ไหม หรือจัดประชุมแบบออนไลน์ที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก จะมีปัญหาหรือไม่ เพราะ i – Vote สามารถรองรับจำนวนผู้เข้าร่วมการประชุมในแต่ละครั้ง ได้มากกว่า 1,000+ คนขึ้นไป 
  • รองรับผลการโหวต นับคะแนนเสียง และดูผลคะแนนได้แบบ Real-Time: ในวาระที่ต้องมีการโหวตหรือลงคะแนนเสียง ระบบ  i-Vote สามารถนับจำนวนคะแนนเสียงการโหวต ทั้งจากผู้เข้าร่วมการประชุมในสถานที่ และในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งสามารถดูผลการลงคะแนนได้ทันที หลังการโหวตสิ้นสุดลง
  • สรุปผลแม่นยำ พิมพ์รายงานการประชุมได้ทันที: ในการจัดประชุมใหญ่สามัญแต่ละครั้ง อาจมีหลายวาระที่ต้องได้รับการพิจารณา และต้องการผลสรุปในตอนจบการประชุม ระบบ i-Vote สามารถช่วยในการสรุปผลการประชุมในแต่ละวาระได้ และสามารถพิมพ์เอกสารรายงานการประชุมให้กับนิติบุคคลและคณะกรรมการได้ทันที เพื่อป้องกันการตกหล่นของผลสรุปการประชุมในวาระต่างๆ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

โทร : 02-481-5234
Line :@thelivingos  https://lin.ee/gmwD2S2
Email : info@thelivingos.com

Thank You

Your form is submitted and we received the email.